บริการสืบค้น

Custom Search

PostHeaderIcon ใบเสมาบ้านกุดโง้ง

เก็บรักษาอยู่ภายในบริเวณโรงเรียนวัดกุดโง้ง ตำบลกุดตุ้ม จากตัวเมืองชัยภูมิไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปอีก 3 กิโลเมตรถึงบ้านกุดตุ้ม แล้วแยกขวาเข้าเส้นทางสาย กุดตุ้ม-บุ่งคล้า อีก 4 กิโลเมตร ใบเสมาหินทรายศิลปทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-15 ที่พบเป็นจำนวนมากในบริเวณรอบๆ หมู่บ้านได้ถูกนำมารวบรวมไว้ในอาคารอย่างเป็นระเบียบ ส่วนมากมีลักษณะเป็นแผ่นใหญ่ ด้านหน้าจำหลักลายและบางแผ่นมีจารึกอยู่ที่ด้านหลังด้วย ลวดลายที่ปรากฏเป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนาเล่าเรื่องชาดกตอนต่างๆ หรือเป็นภาพรูปเคารพ เช่น ภาพพระโพธิสัตว์ประทับยืนบนดอกบัว ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ใต้ต้นโพธิ์ นับเป็นกลุ่มเสมาที่สวยงามแห่งหนึ่งในอีสาน 

การพบใบเสมาที่บ้านกุดโง้งพบกระจายอยู่ทั่วไปบริเวณรอบหมู่บ้าน แต่เดิมใบเสมาเหล่านี้จะจอมอยู่ในดินมีเฉพาะส่วนยอดโผล่ขึ้นมาให้เห็นไม่เป็นที่สนใจของคนทั่วไป ยกเว้นใบเสนาภาพชาดกที่ไม่ได้ฝังจมดินเหมือนใบเสมาอื่นๆ แต่ปักอยู่กลางแจ้งที่ขอบเนินดินเตี้ยๆ ขนาดเล็ก 2 เนิน (ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นพื้นที่ทำนา) อยู่ห่างจากหมู่บ้านไม่ไกลนัก เนินดินแรกพบว่ามีการปักใบเสมาเป็นรูปวงกลมล้อมรอบเนินดิน โดยปักเสมาเป็นคู่มีอยู่ 5 จุด ส่วนเนินดินที่ 2 ซึ่งอยู่ห่างจากเนินดินแรกไปทางตะวันตกเล็กน้อยมีลักษณะและทิศทางการปักเหมือนกับเนินดินแรก เนินดินทั้งสองนี้มีขนาดเล็กแะลไม่พบเศษอิฐหรือซากศาสนสถานในบริเวณดังกล่าวเลย 
จึงสันนิษฐานว่าใบเสมาภาพชาดกที่ปักอยู่รอบเนินดินนี้คงใช้ปักเป็นเครื่องหมายแสดงถึงลานที่ศักดิ์สิทธิ์มากกว่าที่จะใช้เป็นเสมารอบอุโบสถ แต่ช่วงเวลาต่อมาอาจได้มีการใช้เสมานี้เป็นสิ่งที่เคารพนับถือในหมู่บ้านด้วย เพราะใบเสมาที่เป็นรูปพระพุทธเจ้านั่งแสดงธรรมที่พบกลางเนินดินแรกนั้น ได้มีร่องรอยของการปิดทองอันแสดงถึงการใช้เป็นที่กราบไหว้บูชาทำนองเดียวกับพระพุทธรูปใบเสมาที่ที่พบโดยทั่วไปเป็นแบบแผ่นหินมีทั้งแบบเรียบๆ ที่ไม่มีการสลักภาพใดๆ และแบบที่มีการแกะสลักลวดลายต่างๆ ประดับลงไปซึ่งมีหลายแบบ โดยแบ่งลักษณะของลวดลายดังนี้
1.ลวดลายรูปเสมา เป็นการสลักโครงรูปเสมาทำให้แลดูคล้ายเป็นใบเสมาซ้อนกัน 2-3 ชั้น เสมาบางหลักมีการแกะลวดลายชนิดอื่นอยู่ภายในลายโครงรูปเสมาอีกทีหนึ่ง
2.ลวดลายรูปสถูป สลักเป็นรูปสถูปหรือรูปยอดสถูปมักมีรูปทรงสูงแหลม เกือบจดปลายใบเสมาบางหลักมีลายลูกแก้วหรือวงแหวนคั่นอยู่ที่โคนยอดสถูป
3.ลวดลายที่เป็นภาพชาดก สลักเป็นรูปภาพที่สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นเรื่องราวชองชาดก มีอยู่เพียง 9 หลัก ได้แก่ เรื่องมโหสถชาดก พรหมนารทชาดก เตมียชาดก ภูริทัตชาดก เป็นต้น นอกนั้นไม่สามารถที่จะวิเคราะห์จารึกที่ค้นพบบนในเสามาและการเปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปกรรมกับใบเสมาที่เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ สามารถกำหนดอายุใบเสมาบ้านกุดโง้งนี้ได้ว่ามีอายุอยู่ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 ใบเสมาที่พบเหล่านี้ส่วนหนึ่งชาวบ้านได้นำมาเก็บรวบรวมไว้ที่วัดศรีปทุมคงคา เนื่องจากมีผู้ลักลอบเข้ามาขุดแล้วนำออกไปขาย ต่อมาสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 ได้จัดสร้างอาคารถาวรเพื่อจัดแดสงและเก็บรักษาใบเสมาเหล่านี้ไว้ภายในบริเวณวัดศรีปทุมคงคา บ้านกุดโง้ง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น